วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทอง ทอง...ทำไมแพงจัง?”



              ทองคำ (Gold) ทองคำเป็นที่รู้จักกันมาเป็นเวลาเกือบหกพันปีมาแล้ว คำว่า “Gold” นั้นมาจากคำภาษาอังกฤษ คือ “Geolo” ซึ่งแปลว่าเหลือง ทองคำเป็นหนึ่งธาตุเคมีในตารางธาตุ หมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (aurum) ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ในยุคโบราณทองคำได้นำมาใช้เป็นเครื่องตกแต่งในพิธีกรรมทางศาสนา หรือเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความมีอำนาจ ความรุ่งเรือง และทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นด้านอวกาศ เครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
            ทองคำมีความแวววาวอยู่เสมอ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เมื่อสัมผัสถูกอากาศสีของทองจะไม่หมองและไม่เกิดสนิม มีความอ่อนตัว ทองคำเป็นโลหะที่มีความอ่อนตัวมากที่สุด มีจุดหลอมเหลว 1064 องศาเซลเซียส และจุดเดือด 2970 องศาเซลเซียส เป็นโลหะที่มีค่าที่มีความเหนียว (Ductility) และความสามารถในการขึ้นรูป (Malleability) คือจะยืดขยาย (Extend) เมื่อถูกตีหรือรีดในทุกทิศทาง โดยไม่เกิดการปริแตกได้สูงสุด ทองคำบริสุทธิ์หนัก 1 ออนซ์สามารถดึงเป็นเส้นลวดยาวได้ถึง 80 กิโลเมตร ถ้าตีเป็นแผ่นก็จะได้บางเกินกว่า 1/300,000 นิ้ว ส่วนความกว้างจะได้ถึง 9 ตารางเมตร ถ้าทองเพียงประมาณ 2 บาท เราสามารถยืดออกเป็นเส้นลวดได้ยาวถึง 8 กิโลเมตร หรืออาจตีเป็นแผ่นบางได้ถึง 100 ตารางฟุต เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี ทองคำเป็นโลหะชนิดหนึ่งที่สามารถนำไฟฟ้าได้ดี สะท้อนความร้อนได้ดี ทองเป็นแร่ที่หายากแหล่งที่เราจะพบทองคำส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งธรรมชาติ ตามแหล่งน้ำ ตามลักษณะหินแบบต่างๆ กว่าจะได้ทองคำมาหนึ่งออนซ์ (31.167 gram) ต้องถลุงก้อนแร่ที่มีทองคำอยู่เป็นจำนวนหลายตัน และต้องขุดเหมืองลึกลงไปหลายสิบเมตร จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูง เป็นเหตุให้ทองคำมีราคาแพงตามต้นทุนในการผลิต
            จากประโยชน์ต่างๆของทองคำและแหล่งแร่ทองคำจะเห็นได้ว่ากว่าเราจะได้ทองคำมาได้นั้นมันยากลำบากมากและปัจจุบันอันเนื่องเกี่ยวกับธรรมชาติได้ถูกรบกวนจากฝีมือมนุษย์เรานั้นจึงทำให้แหล่งขุดทองคำนั้นลดลงและยังร่วมไปถึงเรื่องปัญหาเศรษฐกิจที่ผักผันทั่วโลกและผลกระทบยังส่งถึงทองคำที่มักใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศไปด้วย จึงทำให้มีค่าผลักดันทำให้ทองคำมีค่าที่สูงขึ้น จนมักจะเรียกติดปากว่า ทองแพง และเป็นที่น่าดีใจ เมื่อไม่นานมานี้นักศึกษาไทยของเราได้ทำการวิจัย "การผลิตชั้นทองอนุภาคนาโนบนพื้นผิวของ Polymer Inclusion Membrane ด้วยกรดอะมิโน ethylene-diamine-tetra-acetic acid (EDTA)" สำเร็จเป็นรายแรกของโลกแล้ว และได้จดลิขสิทธิ์แล้ว
           น.ส.ณัชภูริดา บงกชเกตุสกุล อายุ 23 ปี นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์เคมี มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ได้ทำการวิจัย "การผลิตชั้นทองอนุภาคนาโนบนพื้นผิวของ Polymer Inclusion Membrane ด้วยกรดอะมิโน ethylene-diamine-tetra-acetic acid (EDTA)" สำเร็จเป็นรายแรกของโลกแล้ว และได้จดลิขสิทธิ์แล้ว ในเดือนพฤษภาคม 2554 ที่ประเทศออสเตรเลีย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในฐานะผู้สนับสนุนการ วิจัยนี้ โดยผลการวิจัยดังกล่าวสร้างความฮือฮาในแวดวงวิทยาศาสตร์ของออสเตรเลียเป็นอย่างมากและมีการนำตีพิมพ์ในวารสารด้านวิทยาศาสตร์ออสเตรเลียด้วย ผลการวิจัยนี้สามารถทำให้เกิดตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดชั้นทองคำ นาโนที่มีอนุภาคขนาดเล็ก 20 นาโนเมตร ซึ่งสามารถนำไปผลิตทองคำและแตกยอดไปใช้ในการเป็นตัวปฏิกิริยาทางเคมีได้ เช่น การนำทองคำนาโนไปเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีในรถยนต์เพื่อลดการเกิดสารคาร์บอนมอนอกไซด์ ใช้สำหรับวัดค่าปรอทในอากาศในพื้นที่เหมืองที่มีสารปรอท จำนวนมากๆ โดยจะประหยัดกว่าการใช้แพลทินัม 
ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น